ดีไซน์บรรจุภัณฑ์อย่างไรให้สวยงาม
กราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจ และมีผลต่ออำนาจในการตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งกล่าวได้ว่าถ้าออกแบบกราฟฟิก บนบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงาม สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น โอกาศที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้านั้นเป็นไปได้สูง
 
การออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ เป็นการบอกถึงเรื่องราวของสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน ให้ผู้บริโภคทราบถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งทั้งมีผลดีและผลเสียของผลิตภัณฑ์ โดยข้อมูลที่นักออกแบบกราฟฟิกควรนำเสนอคือ ประเภทส่วนประกอบหรือส่วนผสมโดยประมาณ คุณค่าที่ได้จากตัวผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนหรือวิธีใช้ การเก็บรักษาวันที่ผลิตและวันหมดอายุ คำบรรยายสรรพคุณ และข้อมูลเกี่ยวข้องกับผู้ผลิต เป็นต้น
 
ควรใช้ตัวอักษรและตัวพิมพ์อย่างไรบนกราฟฟิก ตัวอักษรหรือตัวพิมพ์จัดว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรกของการออกแบบ ซึ่งการออกแบบโดยทั่วๆไป มีการนำตัวอักษรมาใช้เพื่อการออกแบบเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
  1. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนดึงดูดสายตา มีลักษณะตัวอังษรแบบ Display Face เพื่อต้องการตกแต่งหรือการเน้นข้อความข่าวสารให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ดู ผู้อ่าน ด้วยการใช้ขนาดรูปแบบตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่มีความเด้นเป็นพิเศษ
  2. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนบรรยายหรืออธิบายเนื้อหา คือ การใช้ตัวอักษรเป็น Book Face หรือเป็นตัวอักษรที่มีขนาดเล็กในลักษณะขอกองการเรียงพิมพ์ข้อความเพื่อการบรรยายส่วนประกอบ ปลีกย่อย และเนื้อหาที่สื่อสารเผยแพร่ี
ดังนั้นการนำตัวอักษรมาใช้ในการออกแบบกราฟฟิกผู้ออกแบบจึงควรที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ถึงส่วนประกอบของตัวอักษรในภาษาต่างๆ ในเรื่องต่อไปนี้
  1. รูปแบบตัวอักษร
  2. รูปลักษณะของตัวอักษร
  3. ขนาดของตัวอักษร

การพิจารณาเลือกตัวหนังสือในการออกแบบ
 
1. ลักษณะรุปร่างตัวหนังสือแต่ละตัวสวยน่าพอใจ และมีความสูงความกว้างสมดุล สำหรับผู้อ่านทั่วไป (สัดส่วนโดยประมาณ สูง 1 กว้าง 3/5)
 
2. การประสมคำบรรทัดเป็นหน้า โดยตัวหนังสือทุกตัวต้องเข้ากันได้ ในการออกแบบความเว้นช่องไฟให้เหมาะสม รวมไปถึงการเรียกบรรทัด ต้องไม่ผอมเกินไผ เพราะจะอ่านได้ไม่สะดวก อ่านช้า น่าเบื่อ และการจัดหน้าบรรทัดเป็นหน้าอย่าวางบรรทัดชินกันเกินไป ทำให้อ่านยากและอ่ายพลาดได้ง่าย ควรมีชายหน้าและหลัง เพราะอ่านง่ายกว่า และง่ายต่อการผลิต
 
3. Contrast ของตัวหนังสือ เกิดจากความหนักเบาของเส้น และความอ่อนแก่ของแสงสีพิ้นกับตัวอักษร
 
4. ความเหมาะสมกับผู้อ่าน โดยพิืจรณาจากคนที่มีปัญหาทางสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว ตาบอดสี ก็ต้องเลือกใช้ตัวหนังสือแก่สิ่งเหล่านี้ และสภาพแวดล้อมที่ใช้อ่าน เช่น มีเสีนงรบกวนมาก คนพลุกพล่าน อาการร้อนไป เย็นไป เช่น ตัวหนังสือที่ใช้กับเบลเดอร์กลางแจ้งก็ต้องมี Contrast ของตัวหนังสือมาก เพื่อแข่งกับสิ่งแวดล้อมนั้นได้ ในที่ร่มอ่านสบายตาดีควรลด Contrast ให้น้อยลง
 
4.1 การวัดตัวพิมพ์ แนวตั้งใช้ระบบการวัดเป็นพอยท์ 1 พอยท์เท่ากับ 1/72 นิ้ว เลขที่มากขึ้นก็คือขนาดที่สูงขึ้น
 
4.2 แนวนอน ใช้ระบบวัดความยาวของคอลัมน์เป็รไพกา 1 ไพกาเท่ากับ 1/6 นิ้วจำนวนไพกาจะมากขึ้นตามความยาวที่เพิ่มขึ้น
 
4.3 ช่องไฟตัวอักษร จะเข้าไปเกี่ยวข้ิงกับช่ิิองไฟบริเวณช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว รูปทรงตัวอักษรแต่ละชนิด มีความเด่นชัดแตกต่างกัน
 
4.4 แนวเส้น ตัวอักษรประกอบด้วยแนวเส้น 4 แนวการรวมตัวต้องพิจรณาช่องไฟอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีความสม่ำเสมอและให้ความรู้สึกถูกต้อง กับการรับรู้ คงไว้ซึ่งปริมาณในการมองเห็นอย่างระรื่นตาระหว่างตัวอักษรกับตัวอักษรถัดไป
 
4.5 ปริมาตรทางสายตา โดยคำนึงถึงปริมาตรที่มีดุลยภาพ ความสมดุลโดยประมาณทางสายตา
 
4.6 มาตรฐานส่วนของช่องไฟตัวอักษร การวางช่องไฟตัวอักษรที่ดีความคำถึงสภาะการมองเห็น (มากกว่าความกว้างของช่องไฟที่มีขนาดเท่ากัน) พยายามสรา้งความเข้าใจ และค้นหาระบบช่องไฟตัวอักษรด้วยตนเอง
 
4.7 เส้นฐาน ตัวอักษรโค้งจะนิยมออกแบบให้สูงกว่าตัวอักษรเส้นตรงเล็กน้อย จึงจะมาดูว่ามีความสูงใกล้เคียงกัน ตัวอักษรโค้งต้องวางให้ต่ำกว่าเส้นฐานเล็กน้อย จึงจะมองเหมือนกับว่าตั้งอยู่บนเส้นฐานพอดี ตามภาพหลอนของรูปทรง
 
4.8 กรอบ ตัวอักษรโค้ง ตัวอักษรเอียง บางตัวควรวางล้ำเส้นขอบเล็กน้อย การรับรู้จึงจะให้ความรู้สึกตรงกับเส้นขอบ ถ้ามีการเว้นวรรคจากบรรทัดก่อน ก็ควรนำมาชนเส้นขอบ
 
4.9 ปรับช่องไฟ จำเป็นต้องลดช่องไฟให้แคบลงระหว่างตัวอักษรเส้นเอียง เส้นโค้ง ตัวอักษรที่มีบริเวณว่างภายนอก การวางตัวอักษรใหญ่กับตัวอักษรเล็กจำเป็นต้องปรับช่องไฟจำนวนมาก
 
4.10 เว้นวรรคคำต่างๆ เริ่มต้นและส่งท้ายด้วยอักษรที่มีรูปร่างต่างกัน การเว้นวรรคควรจัดให้มีความสอดคล้องระหว่างคำ ให้มองดูเป็นเหมือนกันทั้งหมด ปริมาตรของเว้นวรรคควรปรับเช่นเดียวกับช่องไฟของตัวอักษร
 
4.11 ตัวอักษรหัวเรื่อง ตัวอักษรทุกแบบสามารถที่จะเป็นตัวอักษรหัเรื่องได้ ขนาดตัวอักษรหัวเรื่องอาจจะเล้กตั้งแต่ 14 พอยท์ จนถึง 144 พอยท์ หรืออาจโตกว่านั้น
 
4.12 ตัวอักษรเนื้อ ควรมีขนาดประมาณตั้งแต่ 4-14 พอยท์ หรือ 8-14 พอยท์ ซึ่งเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป แบบอักษรควรเลือกให้เหมาะสม ตัวอกษรแต่ละแบบมีบุคลิกที่แตกต่างกัน ตัวอักษรควรเป็นสิ่งเร้าการสื่อสารและกระตุ้นผู้อ่าน แต่ตัวอักษรนั้ก็มีเพียงไมกี่แบบที่เหมาะสมกับการพิมพ์เนื้อความ
 
ที่มา Asia-Pacific PLAS&PACK, www.mew6.com/composer/package/package_13.php
 
 

สำหรับตอนที่ 2 นี้ จะกล่าวถึง แบบการจัดตัวอักษร ซึ่งจะเลือกรูปแบบการจัดตัวอักษร ควรคำนึงถึงการรับรู้ของกลุ่มผู้อ่านด้วย เช่นแบบชิดซ้าย จะปล่อยให้ทางขวามือเว้าแหว่งแบบอิสระให้ความรู้สึกความลื่นไหลของคำเป็นธรรมชาติ เป็นที่นิยมของนักออกแบบกราฟฟิก การชิดแนวนอนด้านซ้ายมือ เป็นวิธีการของพิมพ์ดีดโดยทั่วไป แบบปรับซ้ายขวาตรงเป็นแบบที่ปรับตัวอักษรให้ได้แนวตรงทั้งซ้ายขวา นิยมใช้พิมพ์ในหนังสือแล้วนิตยาสาร ไม่ดีตรงที่บางคำถูกตัดขาดทำให้ยากต่อการอ่าน แบบชิดขวาจะปล่อยให้ทางซ้ายเว้าแหว่งเป็นอิสระ ให้ความรู้สึดอ่อนแอ ทางซ้ายมือเหมาะสมกับข้อมูลสั้นๆ เช่น คำโฆษณา ระบบธุรกิจ หัวเรื่องให้ความสมบูรณ์และช่องไฟดี
 
แบบศูนย์กลาง เป็นแบบสมดุลยภาพทั้งขอบซ้ายและขวาเว้าแหว่ง ช่องไฟระหว่างคำดี แต่ละบรรทัดควรมีความสั่นยาวแตกต่างกัน เพื่อสรา้งรูปแบบที่น่าสนใจ ให้ความรู้สึกเป็นแบบแผน แบบรอบขอบภาพ การจัดวางตัวอักษรให้สัมพัทธ์กับรูปร่างของสัญลักษณ์ ภาพถ่ายเฉพาะรูปร่างหรือภาพประกอบ ให้ความรู้สึกสบายตา แบบล้อมรอบ ตัวอักรที่จัดล้อมรอบรูปภาพซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาพสี่เหลี่ยมความยาวของคอลัมน์แต่ละตอนแตกต่างกัน ส่วนมากเป็นคำบรรยายภาพแบบอดุลภาค สีสภาพเว้าแหว่งทั้งซ้ายและขวา เป็นแบบหรือการจัดวางที่ คาดเดาไม่ได้ ดึงความสนใจในการมองเห็นได้ดี อ่านค่อนข้างยาก นิยมใช้กับตัวอักษรสั้นๆ
 
แบบแสดงรูปร่าง การจัดตัวอักษรแบบนี้สัมพันธ์กับทฤษฎีเกสตอลท์ในเรื่องของความสืบเนื่อง สายตาจะมองสืบเนื่องไปตามแนวโค้งหรือแนวเส้นฐานในลักษณะต่างๆ ให้ความรู้สึกในการแสดงออก ได้ดี เป็นแบบการจัดที่หาดูไม่ค่อยได้ แบบรูปธรรม เป็นการจัดตัวอักษรให้เกิดรูปร่างของวัตถุหรือรูปร่างอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา เช่น รูปร่างเรขาคณิต หรือนามธรรมสอดคล้องกับคำที่บรรยาย เป็นการช่วยกระตุ้นความหมายของภาษาให้มีศักยภาพกว้างขึ้น แบบแนวตั้ง การจัดตัวอักษรตามแนวตั้งนี้นิยมใช้กับหัวเรื่อง บ่อยครั้งที่พบการนำไปใช้อย่างผิดพลาด
 
แบบเอียง โดยจัดเอียงมุมเปลี่ยนไปตามมุมที่ต้องการมีส่วนดึงความสนใจต่อเป็าหมายได้พอสมควร ตัวอักษรเอียงช่วยกระตุ้นความรู้สึกสรา้งสรรค์หรือก้าวหน้าได้การเอียงลาดขึ้นทางขวามือจะให้ความรู้สึก สะดวกสะบาย
 
สำหรับลักษณะเฉพาะของตัวอักษรโดยทั่วไปแล้วจะพิจารณาตามบุคลิกของตุวอักษรแบบต่างๆ ซึ่งมีแบบตัวอักษรอยู่มากมาย อาจจะพิจารณาตัวอักษรต่างๆได้ดังนี้
  1. รูปร่าง การกำหนดชื่อแบบตัวอักษรบางแบบมาจากจุดประสงค์ในการออกแบบก็ได้
  2. ขนาด โดยขนาดของตัวอักษรจะวัดตามแนวตั้งโดยวัดเป็นพอยท์ ตัวอักษรภาษาอังกฤษจะวัดตัวใหญ่เป็นหลัก
  3. น้ำหนัก ความกว้างของเส้นตัวอักษรเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดรูปแบบของตุวอักษร คำที่ใช้คือ บาง กลาง หนา และความหนามาก โดยพิจรณาตามความแคบกว้างของสีดำหรือความทึบ
  4. ความกว้าง เป็นการวัดความกว้างของตัวอักษรตามแนวราบ คำที่ใช้เรียกคือ ผม ปกติ กว้าง โดยพิจาณาจากแคบไปกว้าง
  5. แนวลาด เป็นการพิจารณามุมของตัวอักษรเพื่อบอกบุคลิก คำที่ใช้คือ ตัวตรง ตัวเอียง หรือ Inclined
  6. ความคิดพื้นฐาน ความคิดรวบยอดพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหาการจัดวางตัวอักษร จำเป็นต้องคำนึงถึงความขัดแย้งกัน ของตัวอักษรต้องเปรียบเทียบผลการมองเห็นที่ขัดแย้งกันของเป้าหมาย สภาพตัดกันหรือขัดแย้งกัน เป็นตัวแสดงพลัง ในอันที่จะช่วยให้การออกแบบเสนอความคิดมราชัดเจนขึ้น ความขัดแย้งคือ พลังอันเร้าใจทางการมองเห็น และช่วยให้กระบวนการสื่อสารง่ายดายขึ้นได้
  7. เข้าใจง่าย ควมเข้าใจง่ายในการสื่อสารถึงการจัดตัวอักษรแบบต่างๆ เกี่ยวข้องกับการออกแบบสภาพส่วนรวมที่มองเห็นได้ เป็นความง่ายบนการผสมผสานแบบตัวอักษร สัญลัษณ์ ภาพถ่าย และภาพประกอบเข้าด้วยกัน (รวมความซับซ้อนให้เข้าใจง่าย)
  8. อ่านง่าย เป็นการเกี่ยวข้องกับการออกแบบหรือเลือกแบบตัวอักษรที่แสดงบุคลิกเฉพาะตัวให้อ่านง่าย รวดเร็ว การทดสอบอาจทำโดยอ่านตัวอักษรแต่ละแบบ แล้วเปรียบเทียบเวลาของการอ่าน

ที่มา Asia-Pacific PLAS&PACK, www.mew6.com/composer/package/package_13.php
 

51/7 หมู่ 6 ซ.คลองมะเดื่อ17 ถ.เศรษฐกิจ ต.คลองมะเดื่อ อ.กระทุ่มแบน  จ.สมุทรสาคร 74110    

โทร : 034-447-878-80 แฟกซ์ : 034-447-881-2 มือถือ : 083-095-5517    

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี : 0745556000135