รู้ให้รอบเรื่องบรรจุภัณฑ์
การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์แบ่งเป็น การออกแบบโครงสร้างและกราฟิก โดยมีจุดมุ่งหมาย แตกต่างกัน โดยการ ออกแบบโครงสร้างนั้น จะเน้นในเรื่องการปกป้อง อันตรายจากภายนอกที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง
 
มูลเหตุในการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์มีอยู่เกือบทุกขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ไม่ว่า จะเป็นขั้นตอนการแนะนำ ที่มักจะ ออกแบบ ในรูปความ แปลกใหม่ ในขั้ นการเติบโตที่มักจะเริ่มพิจารณาถึงการลดต้นทุน เนื่องจากใช้ปริมาณบรรจุภัณฑ์มากขึ้น และเตรียมตัวที่จะฉีกแนวหนีคู่แข่ง ในขั้ นอิ่มตัวนี้ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ นับเป็นกลยุทธ์ที่ใช้มากที่สุด ในการยืดขั้นตอนการอิ่มตัว ให้ยาวออกไป ก่อนที่จะปล่อยให้สินค้าเข้าสู่ขั้นตอนการตกต่ำ นอกจาก มูลเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับ วัฏจักรผลิตภัณฑ์สินค้าแล้ว ยังมี มูลเหตุ สำคัญที่ทำให้มีการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ อันได้แก่ กฎหมายและความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยี
 
ขั้นตอนในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สำคัญ คือ การกำหนดจุดมุ่งหมายในการพัฒนา จุดมุ่งหมายนี้ต้องเฉพาะ เจาะจงเป็นที่เข้าใจกัน ระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในองค์กร พร้อมทั้งมีความสามารถจะบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ได้ ด้วยเหตุนี้การตั้ง จุดมุ่งหมาย จึงมักจะมีการกำหนดตัวเลขเป็นเป้าหมาย ส่วน ขั้นตอนที่มักจะละเลย คือ ขั้นตอนของการวางแผนงานที่กำหนด เวลาและงบประมาณ ซึ่งในทางปฏิบัติมักจะเป็น Flow Diagram สิ่งที่ขาดไม่ได้ของการ เตรียมแผนงาน คือ ผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนการทำงาน สิ่งที่สำคัญมาก ในขั้นตอนการพัฒนา คือ การประเมินการยอมรับของ กลุ่มเป้าหมาย การ ทดสอบความเข้ากันได้ (Compatibillity) ระหว่างบรรจุภัณฑ์กับสินค้า และท้ายที่สุด คือ การทดสอบความเข้ากันได้ระหว่างบรรจุภัณฑ์ และเครื่องบรรจุ ภัณฑ์ (Machinability)
 
อาวุธที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สำหรับในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารขนาดย่อม สเป็คดังกล่าวอาจเป็นเพียงแค่ เศษกระดาษที่ผู้ซื้อ ร่างตาม ความต้องการของบรรจุภัณฑ์ ที่ต้องการใช้ เมื่อติดต่อผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ รวมทั้งสามารถจัดหา ได้จากตลาด ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นความจริงว่าสเป็ค จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขตลอดเวลา ให้ทันกับวิวัฒนาการทางด้าน เทคโนโลยีและ ตลาด ข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ ยังสามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิง เพื่อใช้ในการลดค่าใช้จ่ายของ บรรจุภัณฑ์ โดยการลดคุณสมบัติ ที่ต้องการให้ต่ำลง เมื่อถึงเวลาจำเป็น
 
การออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ที่จะสามารถฟันฝ่าอันตรายต่าง ๆ ในระหว่างการขนส่งได้ จำเป็นต้องศึกษาถึงสภาวะอันตราย ของระบบการ ขนส่งต่าง ๆ ได้แก่ อันตรายทางด้านกายภาพ อันตรายจากสภาพภูมิอากาศ อันตรายจากสภาวะทางด้านชีวภาพ และอันตรายจากการปนเปื้อน ถ้า สามารถประเมินถึงอันตรายต่าง ๆ ที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้ได้ ย่อมมีทางแก้ไข โดยการเลือก ระบบการขนส่ง และวัสดุป้องกันการสั่น กระแทกที่เหมาะสม และการจัดการที่ดี ตัวอย่างเช่น ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา มีการกำหนดคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็น Item 222 ที่ใช้กับการขนส่งทางรถยนต์ และ Rule 41 ที่ใช้กับการขนส่งทางรถไฟ เป็นต้น
 
บรรจุภัณฑ์ขนส่งเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทที่ได้รับการพัฒนาโครงสร้างมากกว่า บรรจุภัณฑ์บริโภค ดังนั้น ในส่วนท้ายจึงมีวิธีการ ปิดกล่องที่นิยม ใช้อยู่ ด้วยกัน 3 วิธีคือ การทากาว การเย็บด้วยลวด และการปิดด้วยเทป วิธีปิดกล่องที่ดีด้วยการยึด ให้ฝาด้านใน ของกล่อง ติดกับฝาด้านนอกจะมีผลต่อ ความสามารถ ในการรับแรงกดในแนวดิ่งของกล่องกระดาษลูกฟูก นอกจากนี้ยังต้องพิจารณา วิธีการเก็บกล่อง ก่อนการใช้งาน การบริหารคลังสินค้าของ กล่องด้วยวิธีการ FIFO พร้อมทั้งมาตรการต่าง ๆ ที่จะหลีกเลี่ยง การทำมิดีมิร้าย (Abuse) ต่อกล่องกระดาษลูกฟูกเปล่าก่อนการใช้งาน
 
การออกแบบกราฟิกวิทยาการทางด้านงานออกแบบ กราฟิกสำหรับงานบรรจุภัณฑ์ มีการตีพิมพ์ออกมาน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบ โครงสร้างตัว บรรจุภัณฑ์ จะได้รับการพัฒนา โดยใช้หลักการทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ เป็นต้น พร้อมกับ มีสิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการ ออกแบบโครงสร้างมากพอสมควร
 
ด้วยเหตุนี้ การออกแบบกราฟิกดูจะล้าหลังกว่าในแง่ของการกระจายความรู้สู่สาธารณชน
 
การออกแบบกราฟิกเริ่มจากสมการง่าย ๆ ว่าการออกแบบประกอบด้วยคำบรรยายสัญลักษณ์ และภาพพจน์ โดยต้องออกแบบให้ดูง่าย สบายตา มีความ สวยงาม ใช้งานง่าย สะดวกด้วยต้นทุนที่เหมาะสม พร้อมย่อเป็นคำย่อได้ว่า SAFE การออกแบบกราฟิก มักจะใช้เป็นกลยุทธ์ ทางด้านการตลาด และช่วย เสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของส่วนผสมทางด้านการตลาด โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญ บนบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ชื่อสินค้า ตราสินค้า สัญลักษณ์ทางการค้า รายละเอียดของสินค้า รูปภาพ ส่วนประกอบของสินค้า ปริมาตรหรือปริมาณ ชื่อผู้ผลิต ผู้จำหน่าย วันผลิต และวันหมดอายุ การสร้างตราสินค้าจะมี บทบาท แต่มักจะได้รับการละเลย ภายใต้กระแสโลกานุวัตร การใช้ตราสินค้าที่ทันสมัยในการสื่อย่อมมีโอกาสสร้างความจำได้ และพัฒนาเป็นความ ซื่อสัตย์ต่อตราสินค้า (Brand Loyalty) ได้แทนที่จะใช้ภาษาในการสื่อ ซึ่งยุ่งยากมากกว่าและจำได้ยากกว่า
 
ในช่องทางการจัดจำหน่ายสมัยใหม่ที่มีสินค้าเป็นหมื่นเป็นแสนให้เลือก ณ จุดขาย บรรจุภัณฑ์มีบทบาทสำคัญในการสร้างความสนใจ และแนวโน้มให้ผู้ซื้อ ตัดสินใจเลือกซื้อ การวิเคราะห์ความกว้างที่อาจมองเห็น ณ จุดขาย ตำแหน่งของสินค้าที่ได้รับการมอง และหยิบ มากที่สุด ย่อมมีผลต่อการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นภาพ 3 มิติ ให้ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น
 
นอกจากนี้ การศึกษาการเคลื่อนไหวของลูกนัยน์ตา ในการอ่าน รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ย่อมมีส่วนที่ทำให้การสื่อสาร ของข้อมูล บนบรรจุภัณฑ์ที่มี ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ส่วนสุดท้ายของการออกแบบกราฟิกแนะนำ เทคนิคการออกแบบที่ได้รับความนิยม ใช้โดยเริ่มจากเทคโนโลยีใหม่ของ Contour Packaging การออกแบบกราฟิกให้สะดุดตา การออกแบบเป็นชุด การเรียงต่อ เป็นภาพ การใช้ศิลปะท้องถิ่น ท้ายที่สุดคือ ตัวอย่างของการออกแบบ ของขวัญ เทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้สามารถประยุกต์ใช้แล้ว แต่กาลเทศะที่เหมาะสม
 
เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ การจัดหาเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ มักจะตัดสินใจโดยใช้ความรวดเร็วในการผลิต หรือการบรรจุเป็นเกณฑ์ ในการตัดสิน เนื่องจาก เครื่องจักรเป็นสินทรัพย์ ความมั่นใจ ที่จำหน่ายก็มีบทบาทต่อการตัดสินใจ ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา เลือกเครื่องจักรนั้น นอกจากความเร็วของเครื่อง แล้ว ปัจจัยอื่นที่จำเป็นต้องพิจารณา ได้แก่ ตำแหน่งที่ตั้งเครื่อง การควบคุมการทำงาน ของเครื่อง การบำรุงรักษา พร้อมทั้งการบริการหลังการขาย และ สุดท้าย คือ ค่าใช้จ่ายรวมเครื่องจักร
 
ประเภทของเครื่องจักรบรรจุอาจจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามประเภทของอาหาร คือ อาหารเหลว และอาหารแห้ง ส่วนเครื่องจักร พิเศษประเภทอื่น ๆ ได้แก่ เครื่องบรรจุสูญญากาศ เครื่องห่อที่มีการทำงานด้วยเชิงกล การใช้ฟิล์มหดรัดรูป และฟิล์มยืด ในกรณีของ บรรจุภัณฑ์แก้ว ฝาเป็นองค์ประกอบที่ สำคัญและจำเป็นต้องพิจารณา ใช้เครื่องเปิดฝาด้วย
 
สำหรับถุงพลาสติกที่มีใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมขนาดย่อม เครื่องปิดปากถุงโดยใช้ความร้อนจะเป็นเครื่องจักรที่พบได้ทั่วไป ส่วนกระป๋องนับเป็น บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กันมาก ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องจักรที่ใช้กันมากที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ คือ เครื่องปิดฝา ตะเข็บคู่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้ กระป๋องมีการปิดสนิทมิดชิด (Hermetic Seal) ส่วนเครื่องจักรอื่นที่นิยมใช้ใน อุตสาหกรรม อาหาร ได้แก่ เครื่องปิดฉลาก เครื่องบรรจุกล่อง เครื่องปิด

(ข้อมูลจาก บรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออกด้วยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ 5 วงจร โดยอาจารย์ปุ่น คงเจริญเกียรติ)
ที่มา : วารสารอุตสาหกรรมสาร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ฉบับเดือน กค. – สค. 46
 

51/7 หมู่ 6 ซ.คลองมะเดื่อ17 ถ.เศรษฐกิจ ต.คลองมะเดื่อ อ.กระทุ่มแบน  จ.สมุทรสาคร 74110    

โทร : 034-447-878-80 แฟกซ์ : 034-447-881-2 มือถือ : 083-095-5517    

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี : 0745556000135