พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
 
กฎหมายลิขสิทธิ์มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครอง ป้องกันผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและทางศีลธรรม ซึ่งบุคคลพึงได้รับจากผลงานสร้างสรรค์อันเกิดจากความนึกคิด และสติปัญญาของตนนอกจากนี้ยังมุ่งที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน กล่าวคือเมื่อผู้สร้างสรรค์ได้รับผลตอบแทนจากหยาดเหงื่อแรงกายและสติปัญญา ของตนก็ย่อมจะเกิดกำลังใจที่จะคิดค้นสร้างสรรค์และเผยผลงานให้หลายออกไปมากยิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี การกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสติปัญญาของคนในชาติ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
 
ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อใช้บังคับแทน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยมีผลบังคับใช้วันที่21 มีนาคม 2538 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยจัดให้เป็นผลงานทางวรรณการประเภทหนึ่ง
 
งานที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไปในเรื่องลิขสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน ความตระหนัก รู้ถึงความสำคัญขงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ยั่งยืนกว่าการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
 
ทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึงความรู้ที่เกิดจากการคิดค้นจนทำให้เกิดมีค่าขึ้นได้หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทรัพย์สินทางปัญญาได้แก่การที่ผู้ใด หรือคณะบุคคลใด ร่วมกันประดิษฐ์คิดค้น ออกแบบ สร้างสรรค์ จนเกิดผลขึ้นมา และผลงานนั้นมีคุณค่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งงาน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม
ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ “ ผลงานอันเกิดจากการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ”
 
ลิขสิทธิ์ คือ
- ผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ ในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น
- ลิขสิทธิ์ ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง
- ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
 
ประเภทของงานสร้างสรรค์
งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ประกอบด้วยงานต่างๆ ดังนี้งานทั่วไป ได้แก่
- งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- งานนาฎกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบเป็นเรื่องเป็นราว การแสดงโดยวิธีใบ้
- งานศิลปกรรม เช่น งานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ภาพพิมพ์ภาพประกอบแผนที่ โครงสร้าง ศิลป์ประยุกต์ ภาพถ่าย และแผนผัง ของงานดังกล่าว
- งานดนตรีกรรม เช่น เนื้อร้อง ทำนอง โน๊ตเพลงที่ได้แยกแยะเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
- งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์ เป็นต้น
- งานภาพยนตร์
- งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพคดิสก์
- งานเสียงภาพ
- งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
 
งานสืบเนื่อง ได้แก่
- งานดัดแปลง หมายถึง การทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมโดยได้ รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
- งานรวบรวม หรือประกอบเข้าด้วยกัน โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
 
สิ่งที่กฎหมายไม่คุ้มครอง
- แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
- ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้ หรือการทำงาน
 
สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
ผลงานดังต่อไปนี้เป็นผลงานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์
- ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ คำชี้แจง ของหน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่น
- คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ข้างต้น ที่หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทำขึ้น
 
 

 

51/7 หมู่ 6 ซ.คลองมะเดื่อ17 ถ.เศรษฐกิจ ต.คลองมะเดื่อ อ.กระทุ่มแบน  จ.สมุทรสาคร 74110    

โทร : 034-447-878-80 แฟกซ์ : 034-447-881-2 มือถือ : 083-095-5517    

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี : 0745556000135